เมนู

วิมุจจติกถา


[738] สกวาที จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จิตสหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคน
ด้วยราคะ สัมปยุตด้วยราคะ ปรากฏพร้อมกับราคะ แปรไปตามราคะ
เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์
ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็น
อารมณ์ของอุปทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[739] ส. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้ง
ผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้ง
ราคะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[740] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมี
เจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญา
และจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นได้ทั้ง 2 คือ
ทั้งราคะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[741] ส. จิตมีผัสสะ มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2
คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งราคะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[742] ส. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีราคะ
ฯลฯ จิตมีเจตนา มีราคะ ฯ ล ฯ จิตมีปัญญา มีราคะ หลุดพ้นได้
หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งราคะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[743] ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตสหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคน
ด้วยโทสะ สัมปยุตด้วยโทสะ ปรากฏพร้อมกับโทสะ แปรไปตามโทสะ
เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[744] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งโทสะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[745] ส. จิตมีเวทนา ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา
ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญาและจิต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งโทสะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[746] ส. จิตมีผัสสะ มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2
คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[747] ป. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีโทสะ
ฯลฯ จิตมีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโทสะ หลุดพ้นได้
หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[748] ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตสหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคน
ด้วยโมหะ สัมปยุตด้วยโมหะ ปรากฏพร้อมกับโมหะ แปรไปตามโมหะ
เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[749] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งโมหะแล้วจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[750] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา
ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญาและจิต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2 คือ
ทั้งโมหะและจิต หรือ
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[751] ส. จิตมีผัสสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง 2
คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[752] ส. จิตมีเวทนา มิโมหะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีโมหะ
ฯ ล ฯ จิตมีเจตนา มีโมหะ ฯ ล ฯ จิตมีปัญญา มีโมหะ หลุดพ้นได้
หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หลุดพ้นทั้ง 2 คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[753] ส. ไม่พึงกล่าวว่า จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ
หลุดพ้นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตที่ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
โมหะ หมดกิเลส หลุดพ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[750] ส. ถ้าอย่างนั้น จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ก็
หลุดพ้นได้น่ะสิ.
วิมุจจติกถา จบ

อรรถกถาวิมุตติกถา1


ว่าด้วยวิมุติ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวิมุติ คือความหลุดพ้น. ในปัญหานั้น ลัทธิ
แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ชื่อว่า
การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นของจิตที่ปราศจากราคะแล้วหามีไม่ เหมือน
อย่างว่า ผ้าที่เขาซักฟอกเอามลทินออกไปย่อมพ้นจากมลทินได้ฉันใด
จิตมีราคะก็ฉันนั้น ย่อมหลุดพ้นจากราคะได้ ดังนี้ สกวาทีหมายชน
เหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า จิตมีราคะหลุดพ้นหรือ คำตอบรับรอง
เป็นของปรวาที. จากนั้นถูกถามโดยนัยว่า จิตสหรคตด้วยราคะ
เป็นต้นหลุดพ้นได้หรือ
ปรวาทีปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ในขณะ
แห่งมรรคจิต จิตนั้นชื่อว่าย่อมหลุดพ้น
แต่ในกาลนั้น จิตเห็น
ปานนี้ย่อมไม่มี. แม้ถูกถามโดยนัยว่า จิตมีผัสสะ เป็นต้น
ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความหลุดพ้นจากราคะเหมือนธรรมทั้ง 2 คือผัสสะ
และจิตหลุดพ้นจากราคะ ซึ่งตอบรับรองแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. แม้ใน
จิตมีโทสะ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ แล.
อรรถกถาวิมุตติกถา จบ
1. บาลีเป็น วิมุจจติกถา